คีโต (Keto) คืออะไร ลดน้ำหนักได้จริงไหม

คีโต (Keto) คืออะไร ลดน้ำหนักได้จริงไหม

คีโต (Keto) คืออะไร ลดน้ำหนักได้จริงไหม

อาหารคีโตเจนิก (Ketogenic Diet) หรือที่เรียกกันสั้น ๆ ว่า คีโต (Keto) ไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่แต่อย่างใด เนื่องจากอาหารคีโตไดเอทเป็นที่ยอมรับในการทางการแพทย์และโภชนาการ และถูกใช้เป็นอาหารควบคุมอาการชักในกลุ่มผู้ป่วยโรคลมบ้าหมู ซึ่งมีมาตั้งแต่ปี 1990

อาหารคีโต (Keto) เป็นอาหารลดน้ำหนักประเภทหนึ่ง ที่ให้ความสำคัญกับการกินอาหารที่มีไขมันสูงดีต่อสุขภาพ และเน้นการบริโภคคาร์โบไฮเดรตให้น้อยที่สุด เพิ่มการกินโปรตีนเพื่อรักษากล้ามเนื้อ โดยสัดส่วนของอาหารคีโตที่ควรบริโภค ได้แก่ ไขมันที่ดีต่อสุขภาพ 70% โปรตีนทุกประเภท 25% และคาร์โบไฮเดรตเพียง 5% ของปริมาณแคลอรี่ที่ได้รับต่อวัน

ดังนั้น อาหารคีโตจึงมีจุดมุ่งหมายหลัก เพื่อให้ร่างกายพึ่งพาไขมันเป็นพลังงาน และลดน้ำหนัก
ที่เรียกว่า ภาวะคีโตซีส

คีโตซีสคือ อะไร

ภาวะคีโตซีส จะเกิดขึ้นเมื่อร่างกายไม่พึ่งพาพลังงานจากคาร์โบไฮเดรตเหมือนที่ควรจะเป็น เมื่อร่างกายไม่ได้ถูกให้พลังงานด้วยคาร์โบไฮเดรต ตับจะเปลี่ยนไขมันที่ถูกสะสมไว้ในร่างกายให้เป็นกรดไขมัน และเปลี่ยนให้เป็นพลังงานแก่ร่างกายต่อไป

อาหารคีโตลดน้ำหนักได้จริงหรือไม่

อย่างที่ทราบกันดีว่าการกินคีโตจะทำให้ร่างกายเปลี่ยนไขมันเป็นพลังงานแทนการกินคารโบไฮเดรต จึงทำให้น้ำหนักลดลง แต่ทว่าไขมันที่ร่างกายบริโภคเข้าไปจะต้องเป็นไขมันที่ต่อสุขภาพด้วย ขณะเดียวกันเมื่อร่างกายมีการสลายไขมันเพื่อเป็นพลังงาน ร่างกายจะมีการสูญเสียน้ำในกระบวนการดังกล่าว ทำให้ในช่วงแรกของการกินอาหารคีโตน้ำหนักจึงลดลง เนื่องมาจากร่างกายสูญเสียน้ำนั่นเอง

นอกจากนี้ อาหารคีโตยังทำให้น้ำหนักลดลงเพราะเราไม่ได้กินอาหารอย่างที่เคยกิน ทำให้ร่างกายเกิดภาวะคีโตน และเบื่ออาหารในที่สุด จึงทำให้รู้สึกกินอาหารได้น้อยลง

เพราะฉะนั้นการกินคีโต จึงมีผลในแง่ของการลดน้ำหนัก เมื่อเทียบกับการกินอาหารเพื่อลดน้ำหนักประเภทไขมันต่ำหรืออาหารทั่วไป จึงให้ผลลัพธ์ในการลดน้ำหนักที่รวดเร็วหากสามารถกินได้ตามแผนและควบคุมอาหารอย่างเคร่งครัด โดยทั่วไปมักเห็นผลของการลดน้ำหนักภายใน 6 เดือน

อย่างไรก็ตาม หากจะใช้วิธีการลดน้ำหนักด้วยอาหารคีโตในระยะยาวอาจไม่เหมาะสมนัก เพราะอาจทำให้ร่างกายขาดสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย เนื่องจากอาหารคีโตงดเว้นการกินอาหารบางประเภท การลดน้ำหนักในระยะยาวด้วยอาหารคีโตจึงอาจทำให้ร่างกายขาดสารอาหารที่จำเป็นได้ จนต้องพึ่งพาการกินวิตามินและอาหารเสริม เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่ครบถ้วน

ขณะเดียวกันผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคตับ ไต และไขมันในเลือดสูง หากต้องการลดน้ำหนักด้วยการกินอาหารคีโตแล้ว จะต้องปรึกษาแพทย์เพื่อความปลอดภัย เพราะอาหารบางชนิดอาจไม่เหมาะกับผู้ป่วยโรคดังกล่าว โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีภาวะไขมันในเลือดสูงซึ่งการกินคีโตอาจเป็นเสียต่อร่างกายได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนในการกินอาหารที่มีไขมันสูงปริมาณมาก

69 diet เว็บไซค์เพื่อสุขภาพ โรคภัย แหล่งรวบรวมวิธีการใช้ชีวิต ออกกำลังกาย การดูแลตัวเอง เรามีครบจบที่เดียว หรือติดตามข่าวสารอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่่ diarionf.com วีดีโอที่รวมคอนเทนต์แบบครบรส

Tag ที่เกี่ยวข้อง

บทความที่เกี่ยวข้อง