“เอ็นข้อมืออักเสบ” ภัยเงียบที่ไม่ควรนิ่งนอนใจ

เอ็นข้อมืออักเสบ

“เอ็นข้อมืออักเสบ” ภัยเงียบที่ไม่ควรนิ่งนอนใจ ต้องเข้าใจว่าในปัจจุบันการใช้เทคโนโลยีสื่อสารอย่างสมาร์ทโฟน เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย ด้วยการใช้งานที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตของผู้คนทุกช่วงวัย แน่นอนว่าการใช้โทรศัพท์มือถือย่อมส่งผลดีและผลเสียในคราวเดียวกัน การใช้ในระยะเวลาที่ยาวนานอาจส่งผลต่ออาการปวดของข้อมือ อาการนี้ไม่ใช่โรคติดต่อ แต่พบได้ในกลุ่มคนทุกช่วงวัย จากพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์มือถือที่สะสมมาเป็นระยะเวลายาวนาน

เอ็นข้อมืออักเสบ คือ การอักเสบของปลอกหุ้มเอ็น และเส้นเอ็นบริเวณนิ้วหัวแม่มือ เกิดการกดทับของเส้นเอ็นภายใน ทำให้มีอาการปวดข้อมือ ในระยะเริ่มแรกเป็นเพียงอาการปวดเท่านั้น หากปล่อยทิ้งเอาไว้นานอาจกลายเป็นโรคคุกคามชีวิตเราได้  ส่วนใหญ่แล้วมักเกิดขึ้นในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายสูงถึง 8 เท่า

สาเหตุการเกิดเอ็นข้อมืออักเสบ

จากการศึกษาของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านออร์โธปิดิกส์ พบว่า เกิดจากพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต เป็นระยะเวลานาน กล้ามเนื้อหัวแม่มือถูกใช้งานอย่างหนัก มีการหดเกร็ง และเคลื่อนไหวตลอดเวลา ส่งให้เกิดอาการดังกล่าว และอาจเกิดนิ้วล็อคตามมาได้ แพทย์กล่าวว่า การเคลื่อนไหวนิ้วหัวแม่มือตลอดเวลา โดยไม่ได้ยกของหนัก หรือเกิดอุบัติเหตุ ก็อาจทำให้เกิดการอักเสบของเส้นเอ็นได้

เอ็นข้อมืออักเสบ

“เอ็นข้อมืออักเสบ” ภัยเงียบที่ไม่ควรนิ่งนอนใจ

การอักเสบของเส้นเอ็นที่พบได้บ่อยสุดใน 3 ตำแหน่ง คือ

  1. เอ็นหัวแม่มือ เกิดการอักเสบของเส้นเอ็นหัวแม่มือมากที่สุด เนื่องจากเป็นตำแหน่งของเส้นเอ็นที่ทอดผ่านข้อมือ และสมาร์ทโฟนเองก็ออกแบบมารองรับการใช้งานของนิ้วหัวแม่มือเป็นหลัก
  2. เอ็นหลังข้อมือ เกิดการอักเสบของเส้นเอ็นข้อมือข้างที่ถนัดมากที่สุด โดยเฉพาะมือขวา จากการกระดกของข้อมือเป็นระยะเวลาที่ยาวนาน
  3. เอ็นหน้าข้อมือ เกิดการอักเสบของเส้นเอ็นข้อมือข้างที่ไม่ถนัดมากที่สุด โดยเฉพาะมือซ้าย จากการงอข้อมือถือสมาร์ทโฟนเป็นระยะเวลานาน

อาการบ่งบอกเอ็นข้อมืออักเสบ

คุณสามารถสังเกตความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับคุณได้ง่ายๆ เนื่องจากการอักเสบของเอ็นมีอาการแสดงที่ชัดเจน คือ ข้อมือของคุณเริ่มมีอาการปวด ข้อติดขัด ขยับไม่คล่องเหมือนเก่า ข้อมือและนิ้วมือมีความยืดหยุ่นลดลง สังเกตจากการหยิบจับสิ่งของไม่ถนัด ทั้งหมดนี้เป็นอาการเริ่มต้นของการอักเสบ ให้สังเกตดูต่อว่ามีอาการเหล่านี้หรือไม่ หากมีอาการทั้ง 4 ข้อนี้ ให้พบแพทย์ทันที

  1. ปวดเรื้อรัง ทานยาแก้ปวดอาการไม่ทุเลาลง
  2. ชาบริเวณนิ้ว ข้อมือ และแขนร่วมด้วย
  3. อยู่ๆมีอาการปวด เสียวแปล๊บ บริเวณนิ้ว ข้อมือ และแขน เรียกว่า อาการปวดอย่างฉับพลัน
  4. บริเวณข้อมือมีอาการบวมแดง

การรักษาเอ็นข้อมืออักเสบ

  1. การรับประทานยา หากมีอาการปวดให้ทานยาแก้อักเสบ
  2. การฉีดยา ฉีดยาที่มีส่วนผสมของสเตียรอยด์บริเวณปลอกหุ้มเส้นเอ็น ร่วมกับการทำกายภาพ
  3. การผ่าตัด เมื่อการรักษาข้างต้นไม่เกิดประสิทธิผล
  4. เลี่ยงการใช้งานบริเวณที่มีอาการปวด

อาการปวดข้อมือเป็นผลมาจากเอ็นข้อมืออักเสบ ผู้ป่วยมักมาพบแพทย์ในระยะที่เรื้อรังแล้ว จากพยาธิสภาพของอาการปวดที่ค่อยๆมีอาการ ในระยะเริ่มแรกทำให้มีอาการปวด บวม ชา บริเวณข้อมือ สะสมนานเข้า จึงมีอาการปวดเรื้อรัง หากปล่อยให้เกิดการอักเสบนานเท่าไหร่ จะทำให้เอ็นข้อมือเสื่อม ยากต่อการรักษามากเท่านั้น

ดังนั้นแล้วให้คุณหมั่นสังเกตอาการตัวเอง หากมีประวัติใช้โทรศัพท์มือถือนานๆ ร่วมกับมีอาการปวด บวม ชาบริเวณข้อมือ ให้รีบพบแพทย์เพื่อทำการรักษาทันที

เว็บไซต์ที่รวบรวมเรื่องราวสุขภาพ ลดน้ำหนัก เคล็ดลับความสวยงามที่ตอบโจทย์ความต้องการพื้นฐานของร่างกาย โรคภัยไข้เจ็บสัญญาณอันตรายที่สำคัญ 69Diet.com

Tag ที่เกี่ยวข้อง

บทความที่เกี่ยวข้อง