“ตาปลา” เป็นแล้วรักษาได้ ไม่ต้องกังวล
“ตาปลา” เป็นแล้วรักษาได้ ไม่ต้องกังวล
เท้า คือ สิ่งที่หลายคนอาจจะมองข้ามและไม่ค่อยให้ความสำคัญเท่าใดนัก เพราะเป็นอวัยวะเบื้องล่างที่อยู่ต่ำกว่าระดับสายตา ซึ่งสุขภาพเท้าเป็นสิ่งที่เราควรให้ความสำคัญ เพราะถ้าหากเราปล่อยให้เท้าเกิดปัญหาอาจจะส่งผลต่อบุคลิกภาพรวมไปถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นกับการใช้ชีวิตได้
และวันนี้เราได้นำเอาข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับตาปลา ซึ่งเป็นปัญหาสุขภาพเท้าที่หลายคนรำคาญและแน่นอนว่าทำให้เรารู้สึกกังวลใจไม่น้อยเช่นกัน สำหรับใครที่กำลังมองหาวิธีการรักษาตาปลาอยู่วันนี้เราได้นำเอาข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการรักษาตาปลามาฝากกัน
- วิธีพื้นฐานในการรักษาตาปลาที่เท้าที่คุณเองสามารถทำได้ก็คือ ใช้หินขัดเท้า ซึ่งวิธีก็ง่ายแสนง่าย เพียงแค่คุณแช่เท้าในน้ำอุ่นประมาณ 20 นาที เพื่อทำให้หนังที่บริเวณตาปลามีความอ่อนนิ่มลง จากนั้นก็ใช้หินขัดเท้า ขัดเอาหนังออกอย่างเบามือ ซึ่งเป็นวิธีที่นิยมทำกัน แต่ว่าจะต้องทำซ้ำหลายๆครั้ง จนกว่าจะหาย
- รักษาด้วยวิธีการใช้พลาสเตอร์ เนื่องจากในพลาสเตอร์นั้นมีกรดซาลิไซลิก 40% คุณสามารถทำได้โดยใช้พลาสเตอร์ติดตรงบริเวณที่เป็นตาปลาประมาณ 1-2 วัน จากนั้นให้แกะเอาพลาสเตอร์ออกและแช่เท้าลงในน้ำอุ่นประมาณ 20 นาที เพื่อให้ตาปลานิ่มลง จากนั้นก็ค่อยๆแกะตาปลาออกอย่างเบามือ
- รักษาด้วยยา ตาปลาสามารถใช้ยารักษาได้ ซึ่งยาที่ใช้รักษาตาปลาจะต้องเป็นกรดซาลิไซลิก วิธีทำก็คือ ให้ทาผิวชั้นแรกด้วยปิโตรเลียมเจลก่อน 1 รอบ เพื่อเป็นการป้องกันผิวหนังจากการถูกยากัด จากนั้นให้ลงตัวยาที่มีกรดซาลิไซลิกตามลงไป วิธีนี้ควรทำซ้ำจนกว่าตาปลาจะหาย
- เลเซอร์หรือจีไฟฟ้า วิธีนี้จะเป็นการรักษาที่รวดเร็วมากกว่าวิธีอื่นอย่างมาก แต่ข้อเสียก็คือ บริเวณที่รักษานั้นจะเกิดเป็นรอยแผลเป็นได้ และที่สำคัญมีค่าใช้จ่ายในการรักษาค่อนข้างสูง
- นำเอากระเทียมมาพอกไว้กับตาปลา สามารถทำได้โดยนำกระเทียมมาปอกเปลือก จากนั้นล้างน้ำให้สะอาดและฝานกระเทียมบางๆ จากนั้นนำไปพอกไว้กับบริเวณที่เป็นตาปลาในช่วงกลางคืนขณะนอนหลับ และเมื่อถึงเวลาเช้าก็แกะกระเทียมออกและล้างทำความสะอาดตามปกติ แต่วิธีนี้จะใช้ระยะเวลาค่อนข้างนาน จึงไม่ค่อยได้รับความนิยมเท่าใดนัก
- ผ่าตัดช่วยได้ ในกรณีที่เป็นตาปลาเยอะและมีความรุนแรง สามารถรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดได้ แต่ว่าวิธีนี้บอกเลยว่าใช้ระยะเวลาในการรักษาค่อนข้างนาน เพราะต้องรอจนกว่าแผลผ่าตัดจะหาย และจะทิ้งรอยแผลเป็นเอาไว้อีกด้วย และอีกสิ่งที่สำคัญไม่น้อยก็คือ การดูแลรักษาแผลหลังผ่าตัด จะต้องสะอาดและมีวิธีการรักษาอย่างถูกวิธี ทั้งนี้ก็เพื่อป้องกันการติดเชื้อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแผลที่อยู่บริเวณเท้า
เป็นอย่างไรกันบ้างกับวิธีการรักษาตาปลาที่เท้าที่เราได้นำมาฝากกันข้างต้น ซึ่งแต่ละวิธีนั้นก็จะมี วิธีการทำที่แตกต่างกันออกไปและมีผลลัพธ์ที่แตกต่างกันออกไป ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับระยะเวลา รวมไปถึงความรุนแรงของอาการตาปลาด้วย และถ้าหากคุณไม่อยากให้เกิดตาปลาที่บริเวณเท้าสิ่งที่คุณควรทำก็คือ ควรเลือกสวมใส่รองเท้าที่ไม่คับหรือหลวมจนเกินไป และควรรักษาน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานเพื่อลดแรงกดที่บริเวณฝ่าเท้าอันเป็นเหตุให้เกิดตาปลาได้