สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับมัทฉะ (Matcha)
สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับมัทฉะ (Matcha)
มัทฉะ (Matcha) เป็นชาผงที่ได้จากการบดใบชาเขียวทั้งใบอย่างละเอียดแล้วนำมาชงดื่มกับน้ำร้อน แตกต่างจากชาเขียวที่ชงทั้งใบแล้วทิ้งกาก
มัทฉะจึงมีรสชาติขมกว่าชาเขียวแบบดั้งเดิม ประกอบกับมัทฉะมีขั้นตอนในการชงที่พิถีพิถัน สะท้อนถึงวัฒนธรรมที่มีมาอย่างยาวนานของชาวญี่ปุ่น แต่หลายคนอาจจะยังไม่ทราบว่ามัทฉะมีข้อดีและข้อเสียอย่างไร
มัทฉะ (Matcha) มีประโยชน์ต่อสุขภาพ
มัทฉะ ทำจากชาคุณภาพสูง จึงมีคุณค่าทางอาหารมากกว่าชาเขียวทั่วไป
แม้ว่ามัทฉะจะมีวิตามินและแร่ธาตุเพียงเล็กน้อย แต่มัทฉะกลับอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระที่เรียกว่าโพลีฟีนอล ซึ่งมีส่วนช่วยในการป้องกันโรคหัวใจและมะเร็งบางชนิด รวมไปถึงควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ลดความดันโลหิต และต่อต้านริ้วรอย
นอกจากนี้ โพลีฟีนอลอีกชนิดหนึ่งในมัทฉะที่เรียกว่า EGCG มีงานวิจัยที่สนับสนุนว่าช่วยเพิ่มการเผาผลาญและชะลอการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง
มัทฉะมีคาเฟอีน
เนื่องจากมัทฉะได้จากชาทั้งใบ ดังนั้นจึงทำให้มีคาเฟอีนมากกว่าชาที่ชงดื่มแล้วทิ้งกากถึง 3 เท่า ซึ่งเท่ากับปริมาณกาแฟที่ชงหนึ่งถ้วย เมื่อเทียบปริมาณคาเฟอีนที่ได้รับจากกาแฟแล้ว คาเฟอีนในมัทฉะจะทำให้ร่างกายสงบกว่าเพราะมีสารธรรมชาติที่เรียกว่าแอล – ธีอะนีน ทำให้ผ่อนคลายและไม่ง่วง อย่างไรก็ตาม หากคุณต้องการนอนหลับให้สบาย ควรงดดื่มมัทฉะหรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนอย่างน้อย 6 ชั่วโมงก่อนนอน มันจะช่วยทำให้คุณหลับสบายยิ่งขึ้น
ฝึกการใช้สมาธิ
การชงชาแบบญี่ปุ่นมีความเกี่ยวข้องกับวิถีทางของเซนมาช้านาน และขั้นตอนของการชงชานั้นแสดงถึงการทำสมาธิ และมีสติ เพราะการทำสมาธิไม่ว่าจะรูปแบบใดก็ตามล้วนมีประโยชน์ เช่น ลดความเครียด และทำให้มองโลกในแง่ดี มีจิตใจที่เบิกบานขึ้น
ไม่ดื่มมัทฉะผสมกับนมและน้ำตาล
ขณะที่มัทฉะมีประโยชน์ต่อร่างกายมาก แต่ปัจจุบันก็พบว่ามัทฉะถูกลดคุณค่าทางอาหารไปด้วยการเติมนมและน้ำตาลเพื่อให้ดื่มได้ง่ายขึ้น เพราะมัทฉะมีความขม การทำเช่นนี้ไม่ทำให้ได้ประโยชน์จากการดื่มมัทฉะอย่างเต็มที่ อีกทั้งยังเป็นการลดคุณค่าของมัทฉะและทำให้คุณอ้วนจากการบริโภคน้ำตาลอีกด้วย เพราะฉะนั้นเพื่อสุขภาพที่ดีจึงควรหลีกเลี่ยงน้ำตาลและนม โดยให้ดื่มแต่มัทฉะเพียงอย่างเดียว
สามารถรวมมัทฉะเข้ากับอาหารเมนูต่าง ๆ
มัทฉะ นอกจากจะนำมาทำเป็นเครื่องดื่มแล้ว ยังสามารถใช้เป็นส่วนผสมในอาหารคาวและหวานได้อีกด้วย เช่น คุกกี้ บราวนี่ เค้ก พุดดิ้ง ซุปมัทฉะ และเมนูอื่น ๆ ซึ่งสามารถค้นหาได้จาก Google แต่การดัดแปลงเป็นอาหารดังกล่าวอาจให้คุณค่าของมัทฉะลดลงเมื่อเทียบกับการชงดื่ม แต่ก็เหมาะสำหรับคนที่ชื่นชอบมัทฉะ หรือผู้ที่อยากจะเริ่มต้นทานมัทฉะ อาจจะเริ่มต้นจากเมนูต่าง ๆ ก่อนที่จะลองดื่มมันจริง ๆ
มัทฉะเสี่ยงต่อการปนเปื้อนสารตะกั่ว
แม้ชาเขียวจะปลูกด้วยวิธีออร์แกนิกแต่ก็ยังพบว่ามีการปนเปื้อนของสารตะกั่ว ซึ่งพืชสามารถดูดซึมได้จากสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะชาที่ปลูกในประเทศจีน จากการทดสอบด้วยการทดลองแช่ชาเขียวพบปริมาณสารตะกั่ว 90% และยังพบในกากของชาเขียวเมื่อถูกชงแล้วทิ้งอีกด้วย เคยมีการทดสอบจาก ConsumerLab.com พบว่า มัทฉะ 1 ถ้วย มีปริมาณสารตะกั่วมากกว่าชาเขียวที่ชงแล้วทิ้งกากถึง 30 เท่า เพราะฉะนั้นเพื่อลดความเสี่ยงต่อการได้รับปริมาณสารตะกั่ว จึงแนะนำให้ดื่มไม่เกินวันละ 1 แก้ว