ทำความรู้จัก “โรคไซโคพาธ” โรคที่ไม่ใช่เรื่องไกลตัว
ทำความรู้จัก “โรคไซโคพาธ” โรคที่ไม่ใช่เรื่องไกลตัว
สภาวะสังคมในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก ด้วยนิสัยของคนที่เปลี่ยนแปลงไป และการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไปจากเดิมอย่างมาก ทำให้ปัจจุบันสังคมเสื่อมโทรมลงไปเยอะมาก และสิ่งที่ตามมาก็คือ ความคิดของคนที่เปลี่ยนไปในทิศทางที่แย่ลง
และวันนี้เราได้นำเอาอีกหนึ่งความรู้เกี่ยวกับโรคไซโคพาธ ซึ่งเป็นโรคที่คนส่วนใหญ่อาจจะไม่รู้ตัวว่าตัวเองกำลังเป็นอยู่มาแนะนำให้ได้รู้จักกัน บอกเลยว่าเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป อย่าคิดว่าไม่เกี่ยวข้อง แต่จริงๆ แล้วคุณอาจจะอยู่กับคนที่ป่วยเป็นโรคไซโคพาธอยู่ก็ได้
โรคไซโคพาธ คืออะไร?
สำหรับผู้ที่ป่วยเป็นโรคไซโคพาธนี้ จะมีลักษณะคือ ต่อต้านสังคม ไม่เห็นอกเห็นใจผู้อื่น แข็งกระด้าง ไม่มีความเมตตา ไม่มีความสำนึกผิด ไม่สนใจผลกระทบที่เกิดขึ้นกับผู้อื่นว่าจะเดือดร้อนหรือไม่
แน่นอนว่าโรคนี้เป็นอีกหนึ่งความน่ากลัวที่เกิดขึ้นจริงในสังคมและเรา และที่น่ากลัวไปมากกว่านั้นก็คือ เราไม่สมารถรู้ได้เลยว่าคนที่เดินสวนทางกันไปมานั้นมีผู้ที่ป่วยเป็นโรคไซโคพาธ หรือไม่ ซึ่งผู้ป่วยกลุ่มนี้เขาจะทำอะไรก็ได้ตามที่ต้องการซึ่งสามารถก่อเหตุอาขญากรรมได้
สาเหตุของโรคไซโคพาธ
- สาเหตุจากด้านร่างกาย เกิดจากความผิดปกติของสมองและสารเคมีในสมอง ซึ่งเกิดได้จากการประสบอุบัติเหตุ หรือการถ่ายทอดจากพันธุกรรม
- สาเหตุจากจิตใจ เกิดจากการได้รับเหตุการณ์ที่รุนแรงต่อจิตใจในวัยเด็ก ปัญหาครอบครัว สังคมที่โหดร้าย รวมไปถึงการเลี้ยงดูที่ไม่ถูกต้อง
อาการของผู้ที่เป็นโรคไซโคพาธ
มีพฤติกรรมตอบสนองความต้องการของตนเอง แต่ไม่สนใจผลกระทบที่เกิดขึ้นกับผู้อื่น โกหก ไม่พูดความจริง เพื่อให้ได้ในสิ่งที่ต้องการ มีความผิดปกติทางด้านอารมณ์ และความคิด ไม่รู้สึกกลัวเมื่อทำในสิ่งที่ผิดกฎหมาย ไม่รู้สึกละอาย หรือสะทกสะท้านต่อความผิดที่ทำ ไม่สามารถแยกแยะถูกผิดได้ มีความเห็นแก่ตัวเองเป็นใหญ่ มีความก้าวร้าวรุนแรง อาจนำไปสู่การก่อเหตุอาชญากรรมได้
วิธีการรักษาโรคไซโคพาธ
สำหรับการรักษาผู้ป่วยโรคไซโคพาธนี้จะต้องปฏิบัติร่วมกับนักจิตวิทยา พร้อมกับการรักษาด้วยการให้ยาควบคู่ไปด้วย และที่สำคัญต้องได้รับความร่วมมือกับผู้ป่วยเอง และมักจะเกิดปัญหาคือ ผู้ป่วยไม่ให้ความร่วมมือและไม่ยอมรับว่าตนเองป่วยเป็นโรคไซโคพาธ
วิธีการป้องกันตัวเองจากโรคไซโคพาธ
ดูแลและปกป้องตนเองให้ดี อย่าให้เกิดการกระทบกระเทือนกับสมองส่วนหน้า พยายามอยู่กับครอบครัวและสังคมที่คิดดีทำดี มีความเอื้ออาทรซึ่งกันและกัน มีน้ำใจ พยายามคิดบวก อย่าเห็นแก่ตัว และหลีกเลี่ยงการพบปะกับผู้ที่ป่วยโรคไซโคพาธ
หากคุณสังเกตอาการของตนเองหรือคนใกล้ตัวแล้วพบว่าตนเองมีความเสี่ยงเป็นโรคไซโคพาธก็ควรที่จะเข้าพบแพทย์เพื่อขอคำแนะนำและคำปรึกษา เพื่อช่วยหาทางออกและวิธีการในการรักษา และที่สำคัญคือคุณควรยอมรับว่าตนเองกำลังป่วยอยู่ เพื่อที่จะช่วยกันหาทางออกที่ได้ผล ไม่ควรปฏิเสธหรือหลอกตนเอง และถ้าหากคุณพบเจอกับผู้ที่ป่วยเป็นโรคไซโคพาธก็ควรแนะนำให้เขาเข้าพบแพทย์เพื่อทำการรักษา