ซูชิดีต่อสุขภาพหรือไม่

ซูชิดีต่อสุขภาพหรือไม่

ซูชิดีต่อสุขภาพหรือไม่

            ซูชิไม่ได้เป็นเพียงอาหารยอดนิยมอันแสนโอชะ แต่ซูชิยังแฝงไปด้วยศิลปะในการทำอาหารที่มีรากฐานมาจากวัฒนธรรมของชาวญี่ปุ่นที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนาน ด้วยเหตุนี้ทำให้ซูชิได้รับความนิยมจากคนทั่วโลกเป็นอย่างมาก

หากมองผิวเผินซูชิอาจเป็นอาหารที่ดีต่อสุขภาพและมีคุณค่าทางโภชนาการสูง เพราะมีส่วนประกอบของข้าว ผัก สาหร่าย และปลาสด เป็นต้น แต่ที่ผ่านมาซูชิมีการพัฒนารูปแบบและวิธีการปรุงที่หลากหลายมากขึ้น ทำให้ไม่อาจบอกได้ว่ามันดีต่อสุขภาพ 100% หรือไม่ เนื่องจากกระบวนการเตรียมและปรุงรสอาจลดคุณค่าทางโภชนาการลง เช่น การนำไปทอด การใช้ซอสครีม เป็นต้น

ซูชิมีประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างไร?

            ซูชิมีส่วนผสมของผักและปลาที่หลากหลาย นอกจากนี้ยังปรุงแต่งรสชาติด้วยวาซาบิและขิงดอง แต่ปัจจัยสำคัญที่ทำให้สุขภาพของชาวญี่ปุ่นแข็งแรง คือ จุลินทรีย์ในลำไส้ ซึ่งได้มาจากอาหารหมักดอกและผักบางชนิด เช่น สาหร่าย เห็ด กิมจิ นัตโตะ ขิงดอง ผักกาดดอง และเต้าหู้ เป็นต้น จุลินทรีย์ในอาหารมีประโยชน์ช่วยทำความสะอาดลำไส้และล้างสารพิษในลำไส้ได้

            ขณะที่วาซาบิซึ่งเป็นวัตถุดิบสำหรับปรุงแต่งรสชาติอาหาร อุดมไปด้วยเบต้าแคโรทีน กลูโคซิโนเลตและไอโซไทโอไซยาเนต มีคุณสมบัติในการต้านเชื้อแบคทีเรีย นอกจากนี้ประโยชน์ของซูชิยังมีดังนี้

บำรุงหัวใจและสมอง

ปลาแซลมอนและปลาแมคเคอเรลเป็นแหล่งโปรตีนที่ดี เพราะมีกรดไขมัน DHA โอเมก้า 3 ช่วยลดความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจ บำรุงสมองและความจำ นอกจากนี้ ยังพบข้อมูลที่น่าสนใจว่าปลาที่มีกรดไขมัน DHA และโอเมก้า 3 สามารถลดความดันโลหิต รวมทั้งลดความเสี่ยงต่อการมีความดันโลหิตสูง อันเป็นปัจจัยเสี่ยงที่พบบ่อยในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ

ช่วยล้างพิษตามธรรมชาติ

สาหร่ายโนริ ที่นิยมนำมาใช้ทำซูชิมีคุณค่าทางโภชนาการสูง และมีวิตามินมากกว่าผักโขมถึง 10 เท่า มีโปรตีน 30 ถึง 50% และน้ำตาล 0.1% นอกจากนี้ยังมีสาหร่ายทะเลอื่น ๆ ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ได้แก่ สาหร่ายทะเลวากาเมะ สาหร่ายทะเลสีแดง สาหร่ายทะเลเหล่านี้ช่วยล้างสารพิษในตับ ขณะเดียวกันก็มีไอโอดีนสูง อย่างไรก็ตาม แม้ว่าซูชิจะเป็นอาหารเพื่อทางเลือกสำหรับการมีสุขภาพที่ดี แต่ซูชิก็อาจทำให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพบางประการเช่นกัน ซึ่งมีดังนี้

บริโภคโซเดียมสูงขึ้น

ปลาและสาหร่ายทะเลมีส่วนประกอบของเกลืออยู่ในตัวของมันเอง ขณะเดียวกันข้าวสำหรับทำซูชิมีการปรุงแต่งด้วยส่วนผสมหลายอย่าง เช่น ซีอิ๊ว เกลือ เป็นต้น โซเดียมสูงอาจมีปัญหาเกี่ยวกับไต ปัญหาเกี่ยวกับหลอดเลือด ความดันโลหิตสูง หัวใจวาย โรคหลอดเลือดสมอง และหัวใจล้มเหลว

เพิ่มการบริโภคคาร์โบไฮเดรตมากขึ้น

ข้าวเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของซูชิ โดยปกติการทำซูชินิยมใช้ข้าวขาวหรือข้าวขัดสี จากการศึกษาพบว่าการบริโภคคาร์โบไฮเดรตที่ผ่านกระบวนการขัดสีช่วยเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานได้ เนื่องจากข้าวขาวมีปริมาณน้ำตาลสูง หากกินมากเกินไปอาจมีผลต่อความดันโลหิตและระดับอินซูลินในร่างกายได้

บริโภคสารปรอทเข้าสู่ร่างกายโดยไม่รู้ตัว

ปลาบางชนิดที่นำมาทำเป็นซูชิมีประมาณสารปรอทสูง เช่น ปลาแมคเคอเรล ปลามาร์ลิน ปลากระเบนสีส้ม ปลาฉลามนาก ปลากระเบื้อง ปลาทูน่าอาฮิ เป็นต้น อย่างไรก็ตามปลาทูน่ามีชื่อเสียงเรื่องปริมาณสารปรอทสูง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของปลาทูน่าด้วย หากคุณชื่นชอบการรับประทานซูชิอาจเปลี่ยนจากปลาเหล่านี้มาเป็นปลาแซลมอนแทนก็ได้

เสี่ยงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคบางชนิด

การปรุงอาหารส่วนใหญ่มักใช้ความร้อนสูงในการทำให้อาหารสุกและกำจัดสิ่งปนเปื้อนในอาหารโดยเฉพาะเชื้อโรค แต่สำหรับซูชิขั้นตอนเหล่านี้อาจไม่เกิดขึ้น ทำให้เสี่ยงต่ออาหารเป็นพิษเนื่องจากร่างกายได้รับเชื้อโรคหรือพยาธิบางชนิดเข้าสู่ร่างกายจนกลายเป็นเจ็บป่วยด้วยโรคบางชนิด เพราะรับประทานอาหารไม่สุก

แม้ว่าซูชิจะเป็นอาหารยอดนิยมและให้ผลลัพธ์ที่ดีต่อสุขภาพบางประการ แต่ซูชิก็เสี่ยงต่อการทำลายสุขภาพเช่นกัน เนื่องจากซูชิมีหลายประเภท แต่ประเภทที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพมากคือ ซูชิที่มีส่วนผสมของผักสดต่าง ๆ เช่น แตงกวา แครอท สาหร่าย

นอกจากนี้ซอสควรเป็นครีมซอสที่ดีต่อสุขภาพ เช่น ครีมซอสอะโวคาโด มีปริมาณโซเดียมต่ำโดยเฉพาะเมื่อรับประทานโดยไม่ต้องจิ้มโชยุ มีสารปรอทจากปลาน้อยโดยอาจบริโภคเป็นแซลมอนแทน และเพื่อเป็นการลดคาร์โบไฮเดรตซึ่งเป็นตัวการสำคัญในการเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือดสูง จึงควรสั่งข้าวซูชิให้น้อยลงเพื่อป้องกันไม่ให้ปริมาณน้ำตาลในเลือดสูง อีกทั้งควรบริโภคเมนูสลัดญี่ปุ่นเพิ่มด้วย เพียงเท่านี้การกินซูชิก็จะดีต่อสุขภาพของคุณ

69 diet เว็บไซค์เพื่อสุขภาพ โรคภัย แหล่งรวบรวมวิธีการใช้ชีวิต ออกกำลังกาย การดูแลตัวเอง เรามีครบจบที่เดียว หรือติดตามข่าวสารอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่่ diarionf.com วีดีโอที่รวมคอนเทนต์แบบครบรส 

Tag ที่เกี่ยวข้อง

บทความที่เกี่ยวข้อง