ความเครียดสัมพันธ์อย่างไรกับระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย

ความเครียดสัมพันธ์อย่างไรกับระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย

ความเครียดสัมพันธ์อย่างไรกับระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย

ความเครียดส่วนหนึ่งเป็นผลพวงมาจากรูปแบบการใช้ชีวิตในปัจจุบัน และดูเหมือนว่าความเครียดจะกลายเป็นภาวะที่ควบคุมได้ยากไปเสียแล้วในปัจจุบัน เป็นที่รับรู้กันว่าความเครียดส่งผลต่อภาวะทางอารมณ์อย่างชัดเจน แต่ทว่ามีงานวิจัยจำนวนหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่าความเครียดส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ซึ่งมีผลทำให้ภูมิคุ้มกันในร่างกายลดลง ทำให้เกิดการติดเชื้อและโรคต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้น

            ความเครียดสัมพันธ์กับระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายอย่างไรนั้น เพื่อให้เข้าใจถึงผลของความเครียดที่มีต่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำความเข้าใจการทำงานพื้นฐานของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายเสียก่อนว่ามีหน้าที่และกระบวนการทำงานอย่างไร

ระบบภูมิคุ้มกันประกอบไปด้วยเซลล์เล็ก ๆ หลายพันล้านเซลล์ที่ไหลเวียนอยู่ในร่างกายของมนุษย์ เซลล์เหล่านี้ทำหน้าที่เปรียบเสมือนด่านแรกในการต่อสู้กับเชื้อโรคที่จะบุกรุกเข้ามายังร่างกายของมนุษย์ เช่น แบคทีเรีย ไวรัส และสารพิษอื่น ๆ โดยทำหน้าที่แจ้งเตือนและต่อสู้กับเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกายของมนุษย์

เซลล์เหล่านี้ทำหน้าที่โจมตีและทำลายเชื้อโรค ขณะเดียวกันก็มีหน้าที่ในการคอยเก็บข้อมูลสำคัญของเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกาย เช่น แบคทีเรีย ไวรัส ทั้งนี้เพื่อจดจำรูปแบบและลักษณะ และผลิตแอนติบอดีเพื่อให้ร่างกายสามารถกำจัดเชื้อโรคชนิดดังกล่าวหากเจอในครั้งต่อไป และความเครียดได้มีผลกระทบต่อกระบวนการนี้

มีงานศึกษาที่อธิบายความเครียดเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายลดลง ซึ่งพบว่าเมื่อร่างกายต้องเผชิญกับความเครียดจะทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานของ lymphocyte-T เซลล์ลดลง และยับยั้งเซลล์เม็ดเลือดขาวที่ทำหน้าที่ในการป้องกันเชื้อโรค นอกจากนี้ยังพบอีกว่าผู้ที่มีภาวะซึมเศร้าเพียงเล็กน้อยหรือเรื้อรังมักมีระบบภูมิคุ้มกันที่ลดลงในช่วง 18 เดือนหลังจากพบว่ามีภาวะซึมเศร้า

อย่างไรก็ตาม มีงานศึกษาอื่น ๆ พบว่าเซลล์ภูมิคุ้มกันบางชนิดมีตัวรับฮอร์โมนบางชนิดที่ปล่อยออกมาในช่วงร่างกายมีภาวะความเครียด และคอร์ติซอลคือหนึ่งในฮอร์โมนที่ถูกปล่อยออกมาในช่วงที่ร่างกายต้องเผชิญกับภาวะความเครียด

ซึ่งนั่นอาจทำให้ร่างกายสร้างสารที่เรียกว่า ไซโตไคน์ (Cytokines) ได้น้อยลง เพราะสารไซโตไคน์เป็นโปรตีนชนิดหนึ่ง ที่ช่วยรักษาการอักเสบ การติดเชื้อ และสร้างภูมิคุ้มกัน (Immune System) ให้แก่ร่างกาย เมื่อไซโตไคน์ในร่างกายลดลงร่างกายก็เสี่ยงที่จะถูกโจมตีโดยเชื้อโรคได้ง่ายนั่นเอง

            เมื่อร่างกายต้องเผชิญกับความเครียดเรื้อรังจึงส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายทำงานผิดปกติและเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมากขึ้น ดังนั้น จึงควรเอาใจใส่กับการบำบัดรักษาความเครียด ซึ่งปัจจุบันพบว่ามีการเยียวยารักษาความเครียดด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น การออกกำลังกาย การทำกิจกรรมเพื่อบรรเทาความเครียด การนั่งสมาธิ หรือแม้แต่การรับประทานอาหารบางชนิดก็ช่วยบรรเทาความเครียดได้เช่นกัน

            ดังนั้น จึงไม่ควรปล่อยให้ร่างกายมีความเครียดแม้เพียงเล็กน้อย เพราะนอกจากความเครียดจะส่งผลต่อภาวะทางอารมณ์โดยตรงแล้ว ยังอาจมีผลต่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายอีกด้วย

69 diet เว็บไซค์เพื่อสุขภาพ โรคภัย แหล่งรวบรวมวิธีการใช้ชีวิต ออกกำลังกาย การดูแลตัวเอง เรามีครบจบที่เดียว หรือติดตามข่าวสารอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่่ diarionf.com วีดีโอที่รวมคอนเทนต์แบบครบรส

Tag ที่เกี่ยวข้อง

บทความที่เกี่ยวข้อง